2.3 Sysop Settings

เป็นการตั้งโปรแกรมสำหรับสถานีที่ใช้งานแบบต่อสัญญาณเสียงทางอินเตอร์เน็ตกับวิทยุรับส่งโดยท่านสามารถตั้งค่าของ RX Control, TX Control, DTMF, Identification, Options หรือ Web options ซึ่งมีวิธีการปรับแต่งดังต่อไปนี้

RX Control Tab
ใช้สำหรับการตั้งระบบให้ทำงานกับระบบอินเตอร์เฟสระหว่างคอมพิวเตอร์กับวิทยุรับส่งที่ท่านใช้

Carrier Detect: ใช้เพื่อตั้งให้ Echolink ตรวจจับสัญญาณเสียงที่รับมาจากเครื่องรับส่งวิทยุซึ่งโดยปรกติ VOX ของ Echolink จะคอยตรวจสอบสัญญาณเสียงอยู่ตลอดเวลาหากมีสัญญาณเสียงแรงพอก็จะกระตุ้นให้ระบบ VOX ของ Echolink ทำงานและส่งสัญญาณเสียงไปทางอินเตอร์เน็ตทันทีแต่ถ้าหากวิทยุรับส่งของท่านมีช่องสำหรับต่อ carrier-detect แล้วหล่ะก็ท่านสามารถนำมาใช้ทำงานแทนระบบ VOX ได้ทันทีซึ่งจะทำให้การนำสัญญาณที่รับมาได้ส่งไปทางอินเตอร์เน็ตได้อย่างถูกต้องมากกว่าอีกด้วย

Manual: ใช้เมื่อท่านต้องการส่งสัญญาณเสียงไปสู่คู่สนทนาโดยการกดปุ่ม Space Bar

VOX: ใช้เมื่อท่านต้องการให้ Echolink คอยตรวจสอบระดับความดังของสัญญาณเสียงที่มาจากเครื่องรับส่งที่ต่ออยู่กับคอมพิวเตอร์หากมีความดังมากพอก็จะส่งสัญญาณเสียงนั้นไปทางอินเตอร์เน็ตทันที

VOX Delay: ใช้เพื่อกำหนดระยะเวลาหน่วงให้ Echolink ยังคงส่งสัญญาณไปทางอินเตอร์เน็ตค้างต่อไปอีกหลังจากสัญญาณเสียงสิ้นสุด

Anti-Thump: ในขณะที่ท่านกำลังใช้ VOX ท่านสามารถป้องกันเสียงสั้นๆ ที่สามารถทำให้ VOX ทำงานเช่นเสีglเสียงสะท้อนของระบบของรีพีทเตอร์ที่มีสัญญาณเสียงตรงช่วงปล่อยคีซึ่งเป็นเสียงสั้นๆ แต่ก็มากพอที่จะทำให้ VOX ทำงานได้ถ้าท่านตั้งค่าตรงนี้เหมาะสมสัญญาณเสียงสะท้อนท่อนหางของรีพีทเตอร์ก็จะไม่สามารถทำให้ VOX ทำงานได้

Serial CD, Serial CTS, and Serial DSR: เลือกอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งจะมีประสิทธิภาพมากกว่าที่จะตั้งให้เป็นระบบ VOX ถ้าหากวิทยุรับส่งของท่านมีฟังก์ชันของ carrier-dectect เนื่องจากว่าระบบนี้สามารถติดตามสัญญาณที่จะนำมากดคีได้ดีกว่าที่จะนำเอาสัญญาณเสียงมากดคีส่งที่มีข้อเสียในเรื่องของการหน่วงเวลา และถ้าหากว่าได้ทำเครื่องหมายถูกเลือก Invert Sense สัญญาณที่นำมากดคีส่งก็จะเป็นผลตรงกันข้ามระหว่างการรับหรือส่ง

Squelch Crash Anti-Trip: เป็นฟังก์ชันพิเศษเหมาะมากสำหรับการติดต่อระหว่างรีพีทเตอร์กับรีพีทเตอร์ผ่าน Echolink ทำงานร่วมกับ VOX ในกรณีที่ท่านนำคอมพิวเตอร์ต่อกับวิทยุรับส่งที่เป็นรีพีทเตอร์ซึ่งบ่อยครั้งที่ท่านจะได้ยินหางเสียงสั้นๆหลังจบข้อความและปล่อยปุ่มคีส่ง หากท่านได้ทำการตั้งค่าได้เหมาะสมแล้วหางเสียงตรงนั้นก็จะไม่เข้าไปรบกวนในระบบ Echolink ซึ่งมีหน่วยเป็นมิลลิวินาที

TX Control Tab
เป็นการตั้งโปรแกรมเลือกประเภทของอินเตอร์เฟสที่ท่านใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ของท่านกับวิทยุรับส่ง

PTT Activation: เป็นการกำหนดว่าจะให้ Echolink กดคีส่งเครื่องวิทยุรับส่งที่ต่ออยู่กับคอมพิวเตอร์ท่านอย่างไรเมื่อได้รับสัญญาณเสียงมาทางอินเตอร์เน็ต

External VOX: เป็นการทำงานที่ง่ายที่สุดที่ท่านจะนำเอาวิทยุรับส่งมาต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านเพราะไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์อินเตอร์เฟสใดๆมาเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ของท่านกับวิทยุรับส่ง การทำงานก็อาศัยสัญญาณเสียงที่ได้รับมาทางอินเตอร์เน็ตเป็นตัวกระตุ้นให้เครื่องรับส่งวิทยุของท่าน (ซึ่งจะต้องมีระบบ VOX ในตัวด้วย) ส่งสัญญาณเสียงสู่คลื่นวิทยุแต่ความน่าเชื่อถือและประสิทธิภาพต่ำแบบนี้จะต่ำที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับแบบมีอุปกรณ์อินเตอร์เฟส

ASCII Serial: ให้เลือกปุ่มนี้เมื่อท่านมีอินเตอร์เฟสแบบ WB2REM/G4CDY หรือ VA3TO หรือลักษณะแบบเดียวกับ homebrew โดยมีการทำงานที่ถูกออกแบบมาให้รับคำสั่ง ASCII ที่มาจากซีเรียบพอร์ท ความเร็วที่ได้ถูกตั้งไว้เดิมคือ 2400 bps ทำเครื่องหมายถูกที่ 9600 bps ถ้าหากท่านใช้อินเตอร์เฟสแบบเดิม

RTS and DTR: เลือกอินเฟสแบบนี้หากท่านใช้อินเตอร์เฟสแบบ RIGblaster หรือลักษณะแบบเดียวกันซึ่งประเภทนี้จะกดคีส่งให้กับเครื่องรับส่งโดยผ่านขา RTS หรือ DTR

Key PTT on Local Transmit: เป็นฟังก์ชั่นพิเศษสำหรับสถานีที่เป็นผู้ใช้งานประเภท –L หรือ –R ซึ่งจะส่งสัญญาณเสียงของท่านเองไปทางอินเตอร์เน็ตพร้อมๆ กับส่งออกทางคลื่นวิทยุที่ต่ออยู่กับคอมพิวเตอร์ของท่านเองเพื่อให้สถานีที่ใช้วิทยุรับส่งในบริเวณเดียวกับท่านได้ยินเสียงของท่านด้วย

Note: บางซาว์ดการ์ดเท่านั้นที่รองรับการทำงานแบบนี้ได้

Recording Volume Control: หากท่านเลือกทำเครื่องหมายถูกที่ Key PTT on Local Transmit ท่านต้องเลือกให้ทั้งไมโครโฟนและ line in ทำงานแล้วตั้งโวลลุ่มทั้งสองเอาไว้ตรงกึ่งกลางในขณะที่เหลือให้เลือก Mute เอาไว้ทั้งหมด

Playback Volume Control: ให้ท่านเลือกทั้ง Wave Output และ Microphoneถ้าจำเป็นอาจจะต้องปิดโวลลุ่มเสียงของ PC speakers เพื่อหลีกเลี่ยงสัญญาณเสียงย้อนกลับ

Caution: การเลือกแบบการตั้งโปรแกรมอย่างนี้ให้ระวังไว้ว่าไมโครโฟนของท่านกำลังทำงานอยู่ตลอดเวลาแม้ว่าสถานีปลายทางกำลังส่งสัญญาณเสียงผ่านอินเตอร์เน็ตมาที่ท่านถ้าหากไม่ใช้ก็ให้ปิดโวลลุ่มหรือถอดไมโครโฟนออกซะด้วย

DTMF Tab
DTMF ใน Echolink ทำหน้าที่ได้หลายอย่างเช่น ใช้ติดต่อหรือยกเลิกการติดต่อกับสถานอื่นซึ่งจะมีรายชื่อของฟังก์ชันต่างๆ ปรากฏอยู่ใน แท็บ DTMF ของ Sysop Setup

DTMF Decoder: ให้เลือกหนึ่งในสามออชั่นในการที่ท่านจะใช้ระบบนี้คือ

External: ใช้ในกรณีที่ท่านใช้อินเตอร์เฟสของ WB2REM หรือ VA3TO ซึ่งในอุปกรณ์อินเตอร์เฟสแบบนี้มีระบบ DTMF ที่จะติดต่อกับซีเรียลพอร์ทเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

Internal: ในโปรแกรม Echolink มีระบบ VOX ในตัวอยู่แล้วหากท่านใช้อินเตอร์เฟสแบบ RIGblaster หรือแบบอื่นๆ ที่ไม่มีระบบ DTMF มาให้ก็ให้เลือก Internal

Disables: ถ้าหากไม่ประสงค์ที่จะใช้ระบบ DTMF ก็ให้เลือกปุ่มนี้

Min InterdigitTime: เป็นการตั้งค่ากำหนดเวลาต่ำสุดเป็นมิลลิวินาทีระยะระหว่างสัญญาณ DTMF ตั้งค่าให้เป็น 0 ถ้าหากต้องการให้ตั้งค่าตามผู้เขียนโปรแกรมกำหนด หรือตั้งค่าให้สูงขึ้นเช่น 200 หรือ 500 ms หากว่ามีสัญญาณรบกวนที่ทำให้การแปรสัญญาณดิจิทเดียวของ DTMF ถูกแปรผิดพลาดกลายเป็นหลายดิจิท

Log All Commands: เป็นการตั้งให้โปรแกรม Echolink บันทึกประวัติการรับสัญญาณ DTMF

Auto Mute: DTMF จะไม่สามารถผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้หากท่านเลือกให้ฟังก์ชั่นนี้ทำงาน และ DTMF จะถูกตัดออกโดยสิ้นเชิงถ้าหากว่าท่านเลือกให้ DTMF ทำงานโดยใช้ Internal decoder และอาจจะมี DTMF บางส่วนลอดผ่านได้หากท่านใช้ DTMF แบบ External decoder

Disable During PTT: สัญญาณ DTMF จะไม่ถูกแปลงไปเป็นคำสั่งใช้งานใดๆ ในระหว่างที่เครื่องรับส่งกำลังกดคี ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้ในกรณีที่มีการตั้งซาว์ดการ์ดให้ป้อนสัญญาณไปยัง Internal decoder หรือ external decoder ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุให้ DTMF อาจจะทำงานขึ้นมาเมื่อมี DTMF หลุดมาทางอินเตอร์เน็ตซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ต้องการ

Enable Remote Pad: ถ้าหากสถานีที่กำลังติดต่อกับท่านใช้ Echolink รุ่น 1.6 หรือสูงกว่านี้ สถานีนั้นสามารถที่จะส่งคำสั่ง DTMF มาที่สถานีลิงค์ของท่านได้โดยใช้โปรแกรมของแป้นส่งสัญญาณ DTMF ให้เลือกใช้ฟังก์ชันนี้ได้หากว่าท่านประสงค์ที่ส่ง DTMF ไปควบคุมสถานีรีพีทเตอร์ที่ใช้ DTMF เป็นตัวควบคุม

โดยปรกติแล้วระบบ Decoder สัญญาณ DTMF ของ Echolink จะไม่ตอบรับสัญญาณจากอินเตอร์เน็ต อย่างไรก็ตามก็มีข้อยกเว้นในกรณีที่มีการตั้งให้สัญญาณจากเอาท์พุทของซาวด์การ์ดสามารถป้อนกลับไปยังอินพุทได้หรือส่งไปยังระบบ External DTMF decoder

Advanced: เมื่อใช้ระบบ DTMF จากโปรแกรม Echolink เอง ให้กดปุ่มนี้เพื่อปรับแต่ง frequency tolerance, “twist” และปรับอัตราส่วนระหว่างสัญญาณ DTMF กับสัญญาณรบกวน เพื่อให้โปรแกรมแปลความหมายของสัญญาณ DTMF ได้ถูกต้อง

DTMF Command List: เป็นรายชื่อคำสั่งของระบบ DTMF และเครื่องหมายที่ใช้สั่งให้ระบบ DTMF ทำงานโดยท่านเองก็สามารถเปลี่ยนแปลงเครื่องหมายของคำสั่งที่กำหนดให้ DTMF ทำงานตามนั้นหากไม่ต้องการให้คำสั่งใดๆทำงานก็ให้เว้นช่อง Sequence ในคำสั่งนั้นๆ ไว้ ให้จำไว้ว่าเกือบทุกๆ คำสั่งจำเป็นต้องมีเครื่องหมาย # แต่ไม่ได้แสดงเอาไว้เว้นเสียแต่ว่าเป็นคำสั่งที่ต้องใช้เครื่องหมาย # เป็นตัวสั่งให้ทำงาน

Reset to Defaults: ใช้สำหรับเปลี่ยนคำสั่งทั้งหมดให้เหมือนเดิมตามที่ผู้เขียนโปรแกรมได้ตั้งมา

Identification Tab
เพื่อให้เข้ากับกฏมารยาทของนักวิทยุสมัครเล่นโดยทั่วไป Echolink ได้ออกแบบให้มีการกระจายคลื่นวิทยุแจ้งรายละเอียดของสถานีที่ทำการลิงค์อยู่ไม่ว่าจะในขณะที่กำลังติดต่อหรือไม่ได้ติดต่ออยู่กับสถานีปลายทางเพื่อให้ผู้ที่รับสัญญาณได้ทราบข้อมูลซึ่งประกาศออกไปได้ทั้งในรูปของ Morse code และสัญญาณเสียงโดยสัญญาณเสียงที่ประกาศจะเป็นได้ทั้งของท่านเองหรือจากของ Echolink สัญญาณเสียงที่จะประกาศจะเก็บในรูปไฟล์นามสกุล WAV

Mouse: ใส่คอลล์ซายที่ท่านจะให้ประกาศเมื่อครบกำหนดตามเวลาที่ได้ตั้งไว้ Echolink ก็ประกาศเป็นสัญญาณ Morse code ออกไปพร้อมๆ กับสัญญาณเสียง เลือก setting เพื่อปรับความเร็ว,โทน และระดับความดังของสัญญาณ

Internal: ใส่คอลล์ซายที่ท่านจะให้ Echolink ประกาศออกไปโดยจะอ่านเป็นตัวอักษรและตัวเลข ถ้าหากคอลล์ของสถานีท่านตามด้วย –L หรือ –R โปรแกรม Echolink จะอ่านเป็น ลิงค์และรีพีทเตอ

Back to สารบัญ         Next(ไปหน้าถัดไป)