1.5 Interfacing

สำหรับการใช้ในแบบลิงค์ (-L) หรือ (-R) นั้นจะต้องมีอุปกรณ์เชื่อมโยงระหว่างวิทยุรับส่งกับคอมพิวเตอร์โดยสัญญาณเสียงที่รับมาได้จากคอมพิวเตอร์จะถูกส่งไปยังเครื่องส่งเพื่อกระจายสู่คลื่นวิทยุโดยมีอุปกรณ์เชื่อมโยงเป็นตัวกดคีส่งให้กับวิทยุรับส่ง

Interface Types

ในคู่มือภาษาอังกฤษนั้นได้แจ้งเอาไว้ว่ามีอุปกรณ์เชื่อมโยง (Interface Boards) ระหว่างคอมพิวเตอร์กับวิทยุรับส่งอยู่ 2 แบบ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ซึ่งมีทั้งอินเตอร์เฟสที่มีทั้งอินเตอร์เฟสที่มีทั้งระบบ DTMF ในตัวและแบบไม่มี ดังรูปที่ 1.4.1 ซึ่งเป็นของต่างชาติแต่ราคาก็สูงเกินไป

รูปที่ 1.4.1 อินเตอร์เฟสสำเร็จจากต่างประเทศ

อินเตอร์เฟสรุ่น Revolution  สำหรับ ICOM IC-229

อินเตอร์เฟส Revolution  สำหรับ Handy

รูปที่ 1.4.2 หน้าตาของอินเตอร์เฟสแบบเล็กที่สุด

รูปที่ 1.4.2 เป็นอินเตอร์เฟสที่เล็กที่สุดและใช้งานสดวกที่สุดซึ่งอินเตอร์เฟสดังกล่าวได้ทดลองใช้กับวิทยุรับส่งมือถือยี่ห้อ ADI Sender 541T, Yaesu FT411T, ICOM 2GXET, ICOM IC2N และสามารถใช้ได้กับวิทยุรับส่งมือถือทั่วๆไป

ASCII-controlled: อินเตอร์เฟสประเภทนี้ ซึ่งถูกออกแบบเป็นพิเศษสำหรับ Echolink และ iLINK, รับคำสั่ง ASCII มาจากคอมพิวเตอร์ทาง Serial port เป็นขั่วต่อแบบ 9 ขา ซึ่งอยู่ข้างหลังคอมพิวเตอร์คำสั่งนี้จะเป็นตัวกดส่งหรือไม่ส่งไปยังวิทยุและยังมีหน้าที่ร้องขอคำสั่งมาทาง DTMF

Direct-controlled: อินเตอร์เฟสประเภทนี้เป็นที่ใช้งานกันมากสำหรับ PSK31 และดิจิตอลโหมดแบบอื่นๆ ซึ่งจะมีการกดคีส่งได้โดยรับสัญญาณมาทาง COM port ทางขั่ว RST และ DTR อินเตอร์เฟสแบบนี้จะไม่รวมระบบ DTMF เอาไว้ในตัวแต่ระบบสามารถใช้งานกับ DTMF ได้ซึ่ง Echolink ได้เตรียมเอาไว้ในโปรแกรมเรียบร้อยแล้ว

Carrier Detectใน Sysop mode นั้น Echolink รู้ว่ามีการใช้ความถี่และทำการส่งข้อมูลที่รับได้มาทางความถี่ไปยังสถานีปลายทางโดยผ่านคอมพิวเตอร์และทางอินเตอร์เนตได้และรู้ว่ามีสัญญาณเสียงมาทางอินเตอร์เนตแล้วทำการกดคีส่งสัญญาณเสียงนั้นออกสู่คลื่นวิทยุได้โดย มีระบบตรวจจับสัญญาณเสียงที่ผ่านมาทางซาร์วการ์ดด้วยระบบ VOX (voice operated switch หรือระบบตรวจจับสัญญาณเสียงแล้วสั่งให้อะไรก็ได้ทำงาน) ซึ่งมีอยู่แล้วในโปรแกรม Echolink

แต่อย่างไรก็ตามระบบVOXก็ยังไม่มีความแน่นอนในการส่งกระจายเสียงออกไปเนื่องจากไม่สามารถแยกระหว่างคีเปล่ากับคีมีสัญญาณเสียงได้และยังต้องมีการหน่วงเวลาของสัญญาณอีกหลายวินาทีหลังการกดคีส่งการแก้ใขโปรแกรม Echolink ได้มีการรองรับการต่อตรงระหว่างเครื่องรับส่งกับซีเรียลพอร์ทของคอมพิวเตอร์ซึ่งการต่อแบบนี้จะมีประสิทธิภาพในการใช้งานแบบ simplex links มากที่สุด

มีเครื่องรับส่งหลายยี่ห้อที่ด้านหลังเครื่องมีจุดต่อแบบ Busy หรือ carrier detect ซึ่งตรวจจับระบบวงจรสเควลโดยตรงและสามารถต่อตรงไปยัง CD, DSR หรือ CTS ของซีเรียลพอร์ทของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถนำมาใช้งานแทนระบบ VOX ได้เลย

โดยไม่ว่าจะเลือกอินเตอร์เฟสแบบใดท่านจะต้องเข้าไปตั้งค่าต่างๆในโปรแกรมให้ทำงานร่วมกับวงจรนั้นๆ ซึ่งเข้าไปตั้งได้โดยกดปุ่ม Tools แล้วเลือก Sysop Settings กด RX control แล้วเลือก Serial CD หรือ busy, carrier detect หรือเลือก Serial CTS ขึ้นอยู่กับว่าท่านใช้วงจรอินเตอร์เฟสแบบใด

 

Back to สารบัญ          Next (ไปหน้าถัดไป)